วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สถานที่ท่องเที่ยวต่างจังหวัด


               สถานที่ท่องเทียวจังหวัดร้อยเอ็ด


พระมหาเจดีย์ชัยมงคล วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วราราม




พระมหาเจดีย์ชัยมงคล
ตั้งอยู่บริเวณวัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วรารามตำบลผาน้ำย้อยอำเภอหนองพอกจังหวัดร้อยเอ็ด มีลักษณะเป็นมหาเจดีย์ขนาดใหญ่ที่วิจิตรพิสดาร ใช้ศิลปกรรมร่วมสมัยระหว่างภาคกลางและภาคอีสานเป็นการผสม กันระหว่าง พระปฐมเจดีย์และพระธาตุพนม ใช้งบประมาณก่อสร้างถึงปัจจุบันกว่า 3,000 ล้านบาท ดำเนินการสร้างโดย “พระอาจารย์ศรี มหาวิโร” ซึ่งเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ออกแบบ โดยกรมศิลปากรเป็นสีขาวตกแต่งลวดลาย ตระการตาด้วย สีทองเหลืองอร่าม รายล้อมด้วยเจดีย์องค์เล็กทั้ง 8 ทิศสร้าง ในเนื้อที่ 101 ไร่ กว้าง 101 เมตร ยาว 101 เมตร ความสูง 101 เมตร รวมยอดทองคำเป็น 109เมตร ใช้ทอง คำหนัก 4,750 บาท หรือประมาณ 60 กิโลกรัม ภายในองค์พระมหา เจดีย์เหมือน อยู่บนวิมานแดนสวรรค์ ใช้งบประมาณในการสร้างกว่า 3,000 ล้านบาท






















วัดพระธาตุเรืองรอง จังหวัดศรีสะเกษ

พระธาตุเรืองรอง (พิพิธภัณฑ์สี่เผ่าไทย)
จังหวัดศรีสะเกษ



จังหวัดศรีสะเกษ เป็นอีกจังหวัดหนึ่งของอีสานใต้ที่มีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจอยู่มากมาย วันนี้จะพาเพื่อนๆไป ไหว้พระธาตุเรืองรอง กันครับ ซึ่งเพื่อนๆที่จะไปไหว้พระธาตุเรืองรองยังไงก็อย่าลืมเอากล้องถ่ายรูปไปด้วยนะครับ เพราะที่พระธาตุเรืองรองนี้นอกจากมีพระธาตุพระธาตุประดิษฐานอยู่ที่นี่ด้วยแล้ว ยังมีเรื่องราวและสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจอยู่มากมาย เมื่อเพื่อนๆพร้อมแล้ว เราไปไหว้พระธาตุเรืองรองกันเลยครับ


ไหว้พระธาตุเรืองรอง วัดบ้านสร้างเรือง

เพื่อนๆที่จะมาไหว้พระธาตุเรืองรองนี้ มาทราบประวัติและความเป็นมากันก่อนนะครับ พระธาตุเรืองรองตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดบ้านสร้างเรือง ตำบลหญ้าปล้อง ห่างจากเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 2373 สายศรีสะเกษ-ยางชุมน้อย ประมาณ 7.5 กิโลเมตร เป็นพระธาตุที่สร้างขึ้นโดยผสมศิลปอีสานใต้สี่เผ่าไทย เข้าด้วยกัน ได้แก่ ลาว ส่วย เขมร เยอ มีความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์อย่างลงตัว


ภายในอุโบสถวัด พระธาตุเรืองรอง

ประวัติความเป็นมาของพระธาตุเรืองรอง ในปี พ.ศ.2511 หลวงปู่ธัมมา พิทักษา ผู้ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่บ้านสร้างเรือง และขณะนั้นจำพรรษาอยู่ที่วัดอมรทายิการาม (วัดใหม่ยายมอญ) เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ได้กลับมายังเป็นผู้นำในการบุกเบิกป่าช้าเก่าของบ้านสร้างเรือง ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 1 ไร่เศษสร้างเป็นวัดประจำหมู่บ้าน ในขณะเดียวกันก็มีการขยายพื้นที่ทั้งการขอรับบริจาคและซื้อที่ดินใกล้เคียงเพิ่มเติมจนมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 6 ไร่เศษ และได้มีการพัฒนาวัดบ้านสร้างเรืองอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาจนเสร็จสิ้นสมบูรณ์ (ได้รับพระราชทานวิสุงคามวาสี) เมื่อปี พ.ศ.2520 ภายหลังจากการก่อสร้างวัดแล้วเสร็จ หลวงปู่ธัมมา พิทักษาก็ได้มีแนวคิดว่าจะสร้างพระธาตุให้เป็นสถานที่ให้ชาวบ้านได้สักการบูชา โดยเห็นว่าชาวพุทธในเขตอีสานใต้ส่วนใหญ่มีฐานะค่อนข้างยากจน


พิพิธภัณฑ์สี่เผ่าไทย

ปูชนียสถานทางพุทธศาสนาแต่ละแห่งก็อยู่ห่างไกล เช่น พระธาตุพนม (ประมาณ 400 กิโลเมตร) ประปฐมเจดีย์ (ประมาณ 600 กิโลเมตร) พระพุทธบาทสระบุรี (ประมาณ 500 กิโลเมตร) พระธาตุดอยสุเทพ (ประมาณ 1,000 กิโลเมตร) โอกาสที่จะไปสักการบูชาปูชนียสถานก็เป็นไปได้ยาก บางคนเกิดมาชั่วอายุก็ไม่มีโอกาสสักครั้งในชีวิต ดังนั้น หลวงปู่ธัมมา พิทักษา จึงตัดสินใจสร้างพระธาตุเรืองรองขึ้นที่วัดบ้านสร้างเรืองซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของท่านให้ผู้คนในเขตอีสานใต้ได้สักการบูชา


วัวเทียมเกวียนยักษ์ซุ้มทางเข้าอุโบสถ วัดบ้านสร้างเรือง

พระธาตุเรืองรองจึงเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ.2525 ปัจจุบันถือว่ายังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ยังมีสิ่งที่ต้องเพิ่มเติมอีกหลายๆ ประการ ตัวพระธาตุ มีฐานกว้าง 30 x 30 เมตร สูง 43.60 เมตร มี 6 ชั้น ชั้นบนสุดเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ (กระดูกของพระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์สาวก) ให้ชาวบ้านได้สักการบูชาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชน ส่วนอาคาร 5 ชั้นที่เหลือ จัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์สี่เผ่าไทยที่เน้นการจัดแสดงวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์สำคัญในเขตอีสานใต้ อันได้แก่ ชาติพันธุ์เขมร ถิ่นไทย กูยหรือส่วย ไทยลาว และ ชาติพันธุ์เญอ (เยอ) โดยจัดแสดงทั้งในรูปแบบของแบบจำลองปูนปั้นขนาดเท่าจริง (1:1) การจัดแสดงโบราณวัตถุและเครื่องมือเครื่องใช้ในวิถีชีวิตประเภทต่าง ๆ ที่ชาวบ้านเคยใช้นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การจัดแสดงแบบจำลองปูนปั้นปริศนาธรรม รวมทั้งมีสถานที่สำหรับสักการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธศาสนา รวมทั้งภาพเขียนตามฝาผนังที่บอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ เช่น สถานที่สำคัญทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีในเขตอีสานใต้ วรรณกรรมท้องถิ่นประเภทนิทานและชาดก เป็นต้น


จัดแสดงแบบจำลองปูนปั้นปริศนาธรรม ในรูปแบบต่างๆ

บริเวณโดยรอบพระธาตุเรืองรองก็มีการตกแต่งพื้นที่โดยการสร้างแบบจำลองปูนปั้นปริศนาธรรม เอาไหว้หลายที่ และแบบจำลองปูนปั้นประเพณีพิธีกรรมที่สำคัญของชาวอีสาน รวมทั้งมีการจัดสถานที่สำหรับการร่วมทำบุญโดยการบริจาค บูชาวัตถุมงคล และจำหน่ายของที่ระลึก รายได้ทั้งหมดจะนำมาใช้ในการปรับปรุงพัฒนาพระธาตุเรืองรองต่อไป 

พระธาตุเรืองรอง แบ่งพื้นที่ออกเป็น 6 ชั้น ได้แก่
ชั้นที่ 1 เป็นสถานที่จัดแสดงนิทรรศการนิทานพื้นบ้าน ความเป็นมาต่างๆ และ ฮีตสิบสอง คองสิบสี่
ชั้นที่ 2 เป็นสถานที่จัดแสดงพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านสี่เผ่าไทย คือ ส่วย เขมร ลาว เยอ
ชั้นที่ 3 เป็นสถานที่จัดแสดงวัตถุโบราณ เครื่องมือทำมาหากินของชาวบ้านในอดีต
ชั้นที่ 4 เป็นจุดพักผ่อน
ชั้นที่ 5 เป็นที่ปฏิบัติธรรม สมาธิ
ชั้นที่ 6 เป็นที่ประดิษฐานพระบรมเกศาธาตุ (เส้นผม) ของพระอรหันต์ และยังเป็นจุดที่สามารถชมทิวทัศน์ได้อีกด้วย